ヾ(*´∀`*)ノ ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาวอชิรญา ไกลคำทูล ค่ะ ヾ(*´∀`*)ノ

วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  27  เดือนกันยายน  2556
ครั้งที่  16  กลุ่มเรียน  103 (วันศุกร์เช้า)
เวลาเข้าสอน  08.30 น.    เวลาเข้าเรียน  08.30 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

         ในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาดูว่าบล็อกของตัวเองทำครบหรือยัง  และถ้ายังไม่ครบก็ให้กลับไปทำเพิ่มให้เรียบร้อย  และอาจารย์ก็สั่งงานให้นักศึกษาสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชา นี้ เป็น Mind Mapping



ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้
วันนี้เป็นการสรุปความรู้เนื้อหาที่เราเรียนมาทั้งหมดตลอก1เทอมโดยการทำ Mind Mapping ตามความคิดของตัวเองที่เราอยากจะนำเสนอ การเรียนวิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ได้เรียนรู้หลายอย่างมาก เช่นการสร้างสื่อเกี่ยวกับภาษา การนำเสนองานในรูปแบบต่างๆ การสร้างบล็อก ทำให้เรามารถนำความรู้ที่ได้รับนั้น ไปต่อยอดทางการเรียนการสอนในอนาคตต่อไปได้อย่างดีที่สุด


วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  20  เดือนกันยายน  2556
ครั้งที่  15  กลุ่มเรียน  103 (วันศุกร์เช้า)
เวลาเข้าสอน  08.30 น.    เวลาเข้าเรียน  08.30 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

อาจารย์ให้ดูวีดีโอเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางภาษาและให้ทำแผนจัดประสบการณ์โดยให้เลือกเรื่องที่จะสอนมา 1 เรื่อง ทำเป็น Mind Map โดยแตกเรื่องที่จะสอนออกไป ซึ่งกลุ่มดิฉันได้ทำเรื่อง "ผีเสื้อ"







 หลังจากนั้นอาจารย์ให้ออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน




ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้
ได้รับความรู้เกี่ยวกับ แผนการจัดประสบการณ์ทางภาษา คิดและออกแบบแผนที่เราอยากจะนำเสนอ กลุ่มของพวกเรา นำเสนอหน่อยของผีเสื้อ การเกิด เติบโต โดยเราจะเปิดโอกาสให้เด็กบอกหรือซักถามเรื่องที่เด็กอยากรู้เกี่ยวกับผีเสื้อ สามารถนำไปต่อยอดการสอนในอนาคตได้



 

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  13  เดือนกันยายน  2556
ครั้งที่  14  กลุ่มเรียน  103 (วันศุกร์เช้า)
เวลาเข้าสอน  08.30 น.    เวลาเข้าเรียน  08.30 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

               อาจารย์สอนเกี่ยวกับการจัดห้องเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย  การจัดมุมต่างๆของต่างประเทศ  เพื่อให้เด็กมีความสนใจและอยากที่จะเรียนรู้ในห้อเรียน  ดังนี้




   
              หลังจากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน  ออกแบบห้องเรียนหรือมุมต่าง ๆ อยากให้ห้องเรียนในฝันของเราเป็นอย่างไรให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดออกแบบ  หลังจากนั้นให้ออกมานำเสนอห้องเรียนในฝันของกลุ่มเราว่าเป็นอย่างไรและมีมุมอะไรบ้าง  มุมต่าง ๆ ของเราช่วยส่งเสริมทักษะทางด้านภาษาของเด็กอย่างไร  ดังรูป

         




ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้
ความรู้ในวันนี้คือวิธีการจัดสภาพห้องเรียน การจัดมุมต่างๆให้ห้องเรียน ของต่างประเทศ และประเทศไทย แล้วคิด ออกแบบมุม มุมที่เราอยากจะนำเสนอในห้องเรียนนั้น พวกเราได้เสนอมุม ดนตรีหรรษา ซึ่งเป็นมุมที่เกี่ยวกับภาษาโดยตรง เพียงแค่ได้ยิน เด็กก็อาจเข้าใจได้




วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  6  เดือนกันยายน  2556
ครั้งที่  13  กลุ่มเรียน  103 (วันศุกร์เช้า)
เวลาเข้าสอน  08.30 น.    เวลาเข้าเรียน  08.30 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

               อาจารย์สอนเกี่ยวกับหลักการและความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อม  มุมประสบการณ์ที่สนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  ลักษณะของการจัดมุมในชั้นเรียนที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาและสื่อสนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  ดังนี้

              หลักการและความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อม

         -   สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก  ส่งเสริมให้เด็กสำรวจ ปฏิบัติจริง  เป็นผู้กระทำด้วบตนเอง  เปิดโอกาสให้                   เด็กเป็นอิสระได้สังเกตและตั้งสมมุติฐาน
         -   สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบุคคลรอบข้าง  เด็กควรได้สื่อสารสองทาง
         -   สิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ  ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่างๆโดยคำนึงถึงความ               หมายที่เด็กต้องการสื่อมากกว่าความถูกต้องทางไวยกรณ์
         -   สิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยความหลากหลายทั้งด้านวาจาและไม่ใช่วาจา  เด็กควรได้รับการมีประสบการณ์และ                  ปฏิสัมพันธ์หลายๆรูปแบบ         
    
           มุมประสบการณ์ที่สนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

         -   มุมหนังสือ
         -   มุมบทบทาสมมุติ
         -   มุมศิลปะ
         -   มุมดนตรี
         -   ฯลฯ

             ลักษณะของการจัดมุมในชั้นเรียนที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา

          -   มีพื้นที่ให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้
          -   เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม
          -   บริเวณใกล้ๆมีอุปกรณ์เครื่องเขียน เช่น ดินสอ สี กระดาษ กรรไกร กาว
          -   เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน  ออกแบบ

              สื่อสนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

           -   สื่อของจริง
           -   สิ่งของจำลอง
           -   ภาพถ่าย
           -   ภาพโครงร่าง
           -   สัญลักษณ์

              หลังจากนั้นอาจารย์ได้แจกกระดาษปล่าวพร้อมตัวแบบตัวอักษรภาษาไทยให้เด็กๆหัดคัดตามตัวแบบ  หัวกลม ตัวเหลี่ยม  ดังรูป
 

















ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้

ความรู้ในวันนี้คือการจัดสภาพแวดล้อม การจัดมุมในห้องเรียนต่างๆ สามารถนำไปปรับ ประยุกต์กับการสอนได้ อีกทั้งยังได้ คัดลายมือ เป็นการฝึกให้เราเขียนให้สวย ถูกต้องตามหลักของพยัญชนะไทย เพื่อที่จะให้เด็กอ่านได้รู้เรื่องและเหมาะสมกับการเป็นคุณครู





บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12

 บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  30  เดือนสิงหาคม  2556
ครั้งที่  12  กลุ่มเรียน  103 (วันศุกร์เช้า)
เวลาเข้าสอน  08.30 น.    เวลาเข้าเรียน  08.30 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

               อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม  กลุ่มละ 7-8 คน  ให้ช่วยกันคิดเกมการศึกษากลุ่มละ 1 เกม  แล้วให้ทุคนในกลุ่มออกมานำเสนอเกมหน้าห้อง  กลุ่มของดิฉันทำเกมจับคู่ภาพกับคำ  วิธีการเล่นมีดังนี้โดยให้เด็กๆมองภาพสัตว์ให้จับคู่รูปสัตว์กับบัตรคำ  หากเด็กอ่านไม่ออกให้เด็กดูพยัชนะในภาพสัตว์แล้วเทียบกับบัตรคำ  เด็กก็จะสามารถรู้ได้ว่ารูปสัตว์ตัวไหนคู่กับบัตรคำอันไหน


                                                                                                                    

                                                                                                                                           









ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้
วันนี้พวกเราทำเกมจับคู่ภาพกับคำ สามารถนำสื่อทางภาษาชิ้นนี้ไปปรับใช้กับการเรียนการสอนในอนาคต สามารถคิดสร้างสรรค์แล้วก็ต่อยอดสื่อไปอีกได้

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11

 บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  23  เดือนสิงหาคม  2556
ครั้งที่  11  กลุ่มเรียน  103 (วันศุกร์เช้า)
เวลาเข้าสอน  08.30 น.    เวลาเข้าเรียน  08.30 น.   เวลาเลิกเรียน  12.20 น.

           อาจารย์โบว์มีเกมมาให้เล่นก่อนเรียนเป็นเกมทายปริศนาจากภาพ  เป็นคำที่ง่ายๆแต่แอบมีความซับซ้อนของรูปภาพเล็กน้อย  ดังภาพ
หมาบางแก้ว
เทเลทับบี้

จุดสุดยอด
 จากนั้นอาจารย์สอนเรื่องความหมาย  ความสำคัญและประเภทของสื่อการสอน
            ความหมาย
-  วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการต่างๆ
-  เพื่อกระตุ้น ส่งเสริม จูงใจ ให้เด็กเกิดความสนใจ
-  ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ทางภาษา
-  เครื่องมือที่ครูกำหนดขึ้น เพื่อถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเนื้อหา ประสบการณ์ แนวคิด ทักษะ เจตคติ
             ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ทางภาษา
-  เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส
-  เข้าใจได้ง่าย
-  เป็นรูปธรรม
-  จำได้ง่าย เร็วและนาน
              ประเภทของสื่อการสอน
-  สื่อสิ่งพิมพ์
-  สื่อวัสดุอุปกรณ์
-  สื่อโสตทัศนูปกรณ์
-  สื่อกิจกรรม
-  สื่อบริบท

               อาจารย์เปิดเสียงให้ฟังโดยให้ทายว่าเสียงแต่ละเสียงที่เราได้ยินนั้นคือเสียงอะไร


              



            จากนั้นอาจารย์ก็นำสื่อมาให้เราดูแล้วให้นักศึกษาทำสื่อขึ้นมาเอง  โดยให้แต่ละคนออกแบบสื่อของตัวเองให้สวยงาม  สื่อของดิฉันเป็นรูปสตอเบอรรี่  ดังนี้



ผลงาน "สตอเบอรรี่"

ภาพรวมผลงาน

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้
ได้รับความรู้เกี่ยวกับ ความหมาย คำสำคัญของสื่อทางภาษา ประโยชน์ของสื่อ มีหลากหลาย อย่างเช่นวันนี้เราทำสื่อที่เป็นบัตรคำตั้งโต๊ะ พร้อมมีภาพประกอบเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจง่ายในภาษา แม้อาจจะยังอ่านหนังสือไม่ได้ แต่เด็กเห็นรูปที่เราจะสื่อออกมาเด็กก็จะสามารถรู้ได้ ว่ารูปหรือคำๆนั้น อ่านว่าอย่าไร